รถไฟฟ้า Metro EV.1

วิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร ทำโครงการวิจัยรถไฟฟ้า ชื่อว่า Metro EV.1 (Metro Electric Vehicle.1) เป็นรุ่นทดลอง ต้นแบบโครงการวิจัย เป็นรถเก๋งโดยสารขนาดเล็กขับเคลื่อนด้วยพลังงาน ไฟฟ้าเป็นการประยุกต์การใช้พลังงานสะอาดเพื่อใช้ขับเคลื่อนรถโดยไม่เกิดมลพิษทางอากาศและทางเสียง ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสามารถใช้งาน ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เมื่อเปรียบเทียบความสิ้น เปลืองการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถโดยสารขนาด เดียวกัน การวิจัยนี้พบว่ารถไฟฟ้ามีค่าใช้จ่ายประมาน 15-20 บาท ต่อการชาร์จ 1 ครั้งซึ่งสามารถวิ่งได้เป็น ระยะทาง 20-30 กิโลเมตรเลยทีเดียว (ขึ้นอยู่กับการบรรทุกสัมภาระ) ในด้านเศรษฐศาสตร์ รถยนต์ไฟฟ้าสามารถลดการพึ่งพาน้ำมันที่เป็น แหล่งพลังงานหลักในปัจจุบัน ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถนำงบประมาณสำหรับการซื้อน้ำมันไปใช้ใน ด้านอื่นที่เกิดประโยชน์ต่อสังคมและพัฒนาเศรษฐกิจ ได้อีกมากมายและช่วยพลักดันการพัฒนาแหล่งพลัง งานทดแทนในรูปแบบอื่นๆ วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการศึกษาวิจัยเรื่องรถใช้พลังงานไฟฟ้าของ แผนกช่างยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร ข้อมูลพื้นฐานของรถไฟฟ้า ความเร็ว : Top Speed of 40-50 km/h ระบบขับเคลื่อน : มอเตอร์ไฟฟ้า 4kw 48v แบตเตอรี่ : Deep Cycle Battery ขนาดแรงดัน Battery : 6 V. กระแสไฟฟ้า : 255 แอมป์ จำนวน 8 ลูก ลักษณะทางกายภาพ เป็นรถเก๋งดัดแปลง ทำให้เป็นรถเปิดประทุน บรรทุกผู้โดยสารได้ 4 คน ระยะเวลาในการชาร์จไฟ ใช้เวลาประมาณ 6-7 ชั่วโมงต่อการชาร์จ 1 ครั้ง เมื่อแบตเตอรี่หมด ค่าใช้จ่ายในการชาร์จไฟแต่ละครั้ง ประมาณ 15-20 บาท / ชาร์จ 1 ครั้ง ระยะทางในการใช้งาน ชาร์จแบตเต็ม 1 ครั้ง วิ่งได้ระยะทาง 20-30 km/h (ระยะทางในการวิ่งขึ้นอยู่กับการบรรทุกสัมภาระ) นายมารุต ศิริธร ผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันปัญหาเรื่องน้ำมันในตลาดโลกมีราคาแพงและประเทศไทยต้องเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าน้ำมัน ประกอบกับอัตราการใช้น้ำมันของประเทศไทย โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน ทางภาครัฐยังการส่งเสริมและสนับสนุนใช้น้ำมันพืชซึ่งเป็นผลิตผลทางการเกษตรที่สามารถผลิตได้เองในประเทศมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน แต่การผลิตพลังงานทางเลือกดังกล่าวยังมีผู้ใช้น้อยและยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของการใช้พลังงานทางเลือกเท่าที่ควร ทางวิทยาลัยฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงสนใจในการวิจัยค้นหา และศึกษาความเหมาะสมในการใช้พลังงานทดแทนโดยใช้พลังงานไฟฟ้าแทน โดยทำโครงการต้นแบบ รถไฟฟ้า Metro EV.1 เป็นรุ่นทดลอง และในอนาคตจะทำรุ่นที่ 2 เป็นรถพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อต่อยอดงานวิจัย วิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทรจะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศให้เรื่องพลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติ ทั้งนี้ทางวิทยาลัยฯ อาจจะต้องของบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐบาล เพื่อต่อยอดในการวิจัยครั้งต่อไป รายชื่อที่ปรึกษา นางมรกต สุวรรณชิน ,ดร.กิตติพัฒน์ สุวรรณชิน,นายมารุต ศิริธร รายชื่อผู้วิจัย เป็นทีมอาจารย์แผนกช่างยนต์ ได้แก่ นายนพฉัตร กิติยา ,นายอุดร กมล, ว่าที่ร.ต.ปานประทีป แสงเมือง , ว่าที่ร.ต.นพดล เอี่ยมใจ ,สิบเอกพชร เทพปัน ,นายวิชชุกร บัวคำซาว, นายณัฐภูมิ จาระธรรม, นายสรายุทธ บุญเลา และนายปิยะ ปัญญา