ผอ. คนเก่ง วท.เมโทร รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ปี 57 ประเภทผู้บริหาร

นายมารุต ศิริธร ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร อดีตนักกีฬาวอลเลย์บอลทีมชาติไทย รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ คุรุสดุดี ประจำปี 2557 ประเภทผู้บริหาร เผยเป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจ ยังมาซึ่งความปลื้มปิติของวงค์ตระกูล ถือเป็นรางวัลที่เป็นสร้างกำลังใจในการทำงานต่อไป ย้ำ ตั้งมั่นปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้ดีที่สุดตลอดระยะเวลาที่ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทรสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับอาชีวศึกษาขนาดเล็ก ประจำปีการศึกษา 2551 หรือโรงเรียนเพาะช่างเชียงใหม่ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเทคโนโลยีลานนา โรงเรียนเมโทรเทคโนโลยี และวิทยาลัยเทคโนโลยีตามลำดับ เปิดสอนหลักสูตรอาชีวศึกษาระดับ ปวช. และ ปวส. สาขาวิชา ช่างยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ สถาปัตยกรรม เทคนิคคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยมี ดร.มรกต สุวรรณชิน ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร ดร.กิตติพัฒน์ สุวรรณชิน เป็นรองประธานกรรมการบริหาร และนายมารุต ศิริธร ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ กว่า 13 ปี เมโทรฯได้สร้างสรรค์ผลงานเพื่อใช้เป็นประโยชน์แก่การดำเนินงานทั้งภายในสถานศึกษา ชุมชนและสังคม โดยเป็นผู้ออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา (Vocational management Information System : VMIS) รวมถึงระบบการประกันคุณภาพภายในอิเล็กทรอนิกส์ (e-SAR) เพื่อใช้ในสถานศึกษา โดยได้เผยแพร่ระบบการประกันคุณภาพ (e-SAR) ให้สถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา อื่น ๆ ได้ใช้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เป็นการเผยแพร่ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาต่าง ๆ เช่นสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาในกลุ่มจังหวัด กรุงเทพฯ กลุ่มภาคกลาง และกลุ่มภาคเหนือ ซึ่งที่กล่าวมาในข้างต้น ล้วนเป็นผลงานการออกแบบ บริหารจัดการของ นายมารุต ศิริธร ในการออกแบบและพัฒนางานให้ทันสมัยรองรับการทำงานในอนาคตเตรียมความพร้อมสู่อาเซียน นายมารุต เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาการทำงาน กว่า 20 ปี ที่ผ่านมา ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การมีจรรยาบรรณต่อตนเอง มีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ ที่สำคัญต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมายทางการศึกษา วางแผนการทำงาน บริหารงานโดยมุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน แสวงหาความรู้ให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคม ตลอดจนนำความรู้ ประสบการณ์จากการไปอบรม ศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศมาพัฒนาสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการออกแบบระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ และนำแนวคิดการทำงานเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกันเข้ามาใช้ในการดำเนินการทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น บุคลากรไม่มีอคติซึ่งกันและกัน ภายใต้แนวนโยบายว่า “ครอบครัวเดียวกัน” ใช้ระบบคุณธรรมในการพิจารณาผลงานของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ทุกสิ้นปีการศึกษา ส่วนหนึ่งของผลงานเด่นชัดที่สุดที่ส่งผลให้ปรากฏเป็นที่ยอมรับของนักเรียน ผู้ร่วมงาน ผู้ปกครองและชุมชน และเป็นผลงานของการอุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่วิชาชีพครูอย่างสูง ตลอดระยะเวลาของการปฏิบัติงาน ค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ต่อวิชาชีพอยู่เสมอในด้านต่างๆเพื่อนำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาตนเองและพัฒนาองค์กร โดยในปีการศึกษา 2556 ได้เข้าร่วมอบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพตนเอง การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ได้แก่ โครงการพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน, การจัดทำรายงานประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาการเก็บข้อมูลSAR และขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาและแผนปฏิบัติงานประจำปี สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน, e-Learning and workshop 2013 Digital literacy and Mobile Learning for 21 century skills Development การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้สร้างสื่อการเรียนการสอนบนระบบปฏิบัติการ smart phone สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ฝึกอบรมผู้ประเมินคุณภาพภายในการอาชีวศึกษาสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน, หลักสูตรนวัตกรรมการสอนเพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดระดับอาชีวศึกษา ปสกช.เชียงใหม่, การอบรมเชิงปฏิบัติการ ระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายใน ระดับอาชีวศึกษา อาชีวะเอกชน กลุ่มภาคเหนือและ อบรมพัฒนาทูตคุณภาพอบรมพัฒนาผู้ประเมินคุณภาพภายนอกด้านการอาชีวศึกษา สมศ. ออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา โดยใช้ชื่อว่า VMIS (Vocational Management Information System) ประวัติ นายมารุต ศิริธร เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2506 อายุ 51 ปี วุฒิการศึกษา ม.ศ. 5ศิลป์-ภาษาโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ปกศ.สูงพลศึกษา วิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดลำปาง ปริญญาตรี พลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพลศึกษา และปริญญาโท วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประวัติการทำงาน ปี พ.ศ. 2528-2535 อาจารย์ฝ่ายปกครอง โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2535-2536 หัวหน้าฝ่ายกีฬา วิทยาลัยโยนก ลำปาง ปี พ.ศ. 2536-2537 หัวหน้าฝ่ายกิจกรรม ร.ร.กรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2537-2538 ผู้จัดการคาซ่าวีว่าคอนโดมีเนียม กทม. ปี พ.ศ. 2538 หัวหน้าฝ่ายบุคคล บ.เอ็กเซลเลนท์รับเบอร์ ระยอง ปี พ.ศ. 2538-2541 หัวหน้าฝ่ายปกครองโรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ ระยอง ปี พ.ศ. 2541 – 2542 รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักศึกษา โรงเรียนพณิชยการเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2541- ปัจจุบัน ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร เชียงใหม่ ประสบการณ์การบริหารงานดีเด่นและความภาคภูมิใจ ปี พ.ศ. 2526-2530 เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลทีมชาติไทยเข้าร่วมแข่งขันกีฬานักเรียนอาเซี่ยน, เยาวชนเอเซีย และมหาวิทยาลัยอาเซียน ปี พ.ศ. 2539 - 2541 พัฒนาโปรแกรมบริหารงานปกครองงานบุคคลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ และ โรงเรียนเมโทรเทคโนโลยี เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ปี พ.ศ. 2538-2542 การเป็นวิทยากรด้านกิจกรรมกลุ่มให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ เช่น MK สุกี้บะหมี่ สถาบันเอกทักษะ คอมพิวเตอร์, ปตท., บริษัทโกดัก,บริษัทอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีคัลไทยจำกัด, โรงเรียนพณิชยการเชียงใหม่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานที่ไปเป็นวิทยากร ปี พ.ศ. 2541 เป็นเลขานุการการจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 30 ชนิดกีฬาวอลเลย์บอล ประสบผลสำเร็จมาก ปี พ.ศ. 2544 ได้รับรางวัลผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่น จากสมาคมโรงเรียนเอกชน จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2544 ผู้ฝึกสอนวอลเลย์บอลชาย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2545-2547 เป็นที่ปรึกษาโครงการชุบชีวิตธุรกิจไทย ด้าน IT มีผลงาน 2 แห่ง ได้แก่ บริษัท ป่าซางไดอิ้ง จำกัดและบริษัทไทยออร์แกนิคอะกริ จำกัด ปี พ.ศ. 2546 รับโล่ประกาศเกียรติคุณให้การช่วยเหลือและสนับสนุนจัดกิจกรรมดีเด่น ของสมาคมโรงเรียนเอกชน จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2546- ปัจจุบัน เป็นผู้ประเมินภายนอกด้านอาชีวศึกษา ของ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) สมศ.มีผลงานการตรวจ 17 แห่ง ปี พ.ศ. 2546- ปัจจุบัน เป็นวิทยากรด้านการประกันคุณภาการศึกษา ให้กับสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาหลายแห่ง ดังนี้ ร.ร.ไทยวิจิตรศิลป์,ร.ร. เชียงใหม่บริหารธุรกิจนานาชาติ,ร.ร.เทคโนโลยีหมู่บ้านครูฯ,ร.ร. ศรีธนาฯ,ร.ร.ไทย-ญี่ปุ่นเยอรมัน, ร.ร. นครพิงค์,ร.ร. พณิชยการเชียงใหม่,วิทยาลัยการอาชีพป่าซาง ปี พ.ศ. 2549 เป็นผู้ประเมินสถานศึกษารางวัลพระราชทานระดับเขตตรวจราชการที่ 1 ตรวจจังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดแพร่ พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ และลำปาง ปี พ.ศ. 2552 รับโล่ประกาศเกียรติคุณให้การช่วยเหลือและสนับสนุนจัดกิจกรรมดีเด่น ของสมาคมโรงเรียนเอกชน จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2549 - 2551 เป็นผู้ช่วยอุปนายกสมาคมฝ่ายบริหาร สมาคมโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย กลุ่มภาคเหนือ ปี พ.ศ.2548 – ปัจจุบัน เป็นรองประธานฝ่ายวิชาการ กลุ่มโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนเชียงใหม่-ลำพูน ปี พ.ศ. 2551 ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้น เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ ปี พ.ศ. 2552 ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณให้การช่วยเหลือและสนับสนุนกิจกรรมดีเด่น ของกลุ่มโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน เชียงใหม่-ลำพูน ปี พ.ศ. 2552 นำสถานศึกษาเข้าประกวดจนได้รับรางวัลพระราขทาน สถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาขนาดเล็กประจำปีการศึกษา 2551 ปี พ.ศ. 2554 ได้รับเกียรติบัตรการเป็นครูผู้มีคุณธรรม จริยธรรมดีเด่น ประเภทผู้บริหาร ประจำปี 2553 จาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) กระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2554 เป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านการประกันคุณภาพภายในเพื่อรองรับการประเมิน ภายนอก ระดับอาชีวศึกษา หลายสถาบัน ปี พ.ศ. 2555 ได้รับเกียรติบัตรที่ได้อุทิศตนเสียสละปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ การศึกษาเอกชน จากสมาคมโรงเรียนเอกชน เชียงใหม่